วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
1.เนื้อหาเกี่ยวกับเห็ด
2.วัตถุประสงค์
-เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเห็ดที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน
-เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารและคุณประโยชน์ของเห็ด
3.เนื้อหาเป็นประโยชน์(4)
4.การออกแบบ(4)
5.ความเรียบง่าย(4)
6.ความน่าสนใจ(4)
7.ความทันสมัย(3)
สรุปคะแนน 19
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552
เห็ดหอม
ชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.
ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ
ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฟษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม
ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว
แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร
การกิน : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น
สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก
เห็ดหลินจือ
ชื่อสามัญ Ling Zhi Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma Iucidum
ชื่ออื่น เห็ดหมื่นปี เห็ดหิ้ง เห็ดขอนไม้ เห็ดสวรรค์พันปี เห็ดศักดิ์สิทธิ์ เห็ดนำโชค
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
ฤดูกาล ฤดูฝน
ลักษณะทางพันธุศาสตร์ หมวกเห็ดเป็นรูปไตหรือครึ่งวงกลม ดอกเห็ดกว้าง 3-9 เซนติเมตร ดอกอ่อนสีเหลือง ขอบขาว กลางดอกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง เนื้อเหนียว ดอกแก่จะแข็งเป็นมัน สีน้ำตาลแดงเข้มขึ้นเรื่อยๆ หมวกเห็ดมีริ้วหรือหยักเป็นคลื่น ขอบหมวกหน้างุ้มลงเล็กน้อย ด้านล่างมีรูกลมเล็กๆเป็นท่อเชื่อมติดกัน ก้านดอกสีน้ำตาลดำสั้นหรือไม่มีก้านเลย อยู่เยื้องไปด้านใดด้านหนึ่งของดอก หรืออยู่ติดขอบหมวก ผิวก้านเป็นมันเงา ผิวเรียบ หิดหลินจือมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรสชาตและสรรพคุณแตกต่างกันไป
แหล่งปลูก หินหลินจือตามธรรมชาติมักขึ้นอยู่กับขอนไม้ที่ตายแล้ว ในเขตป่าอบอุ่นและเขตร้อน
การกิน ดอกเห็ดนำมาต้มหรือตุ๋น
สรรพคุณทางยา ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดปริมาณน้ำตาลและโคเลสเตอรอล รักษาอาการภูมิแพ้ต่างๆ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้หอบหืด ยับยั้งเซลเนื้องอกมะเร็ง แก้ปวดตามข้อ บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท
คุณค่าอาหาร ไม่มีข้อมูล
เห็ดฟาง
ชื่อสามัญ Straw Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ Volvariella vovacea(Bull. Ex.Fr.) Sing
ชื่ออื่น เห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับ ฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บางๆคล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด
ฤดูกาล ตลอดปี
แหล่งปลูก สระบุรี นครนายก อยุธยา อ่างทอง สงขลา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุราษร์ธานี และนครศรีธรรมราช การกิน เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่นยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น
สรรพคุณทางยา เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปํญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้
คุณค่าทางอาหาร เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Volvariella vovacea(Bull. Ex.Fr.) Sing
ชื่ออื่น เห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับ ฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บางๆคล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด
ฤดูกาล ตลอดปี
แหล่งปลูก สระบุรี นครนายก อยุธยา อ่างทอง สงขลา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุราษร์ธานี และนครศรีธรรมราช การกิน เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่นยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น
สรรพคุณทางยา เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปํญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้
คุณค่าทางอาหาร เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม
เห็ดเป๋าฮื้อ
ชื่อสามัญ :Abalone Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus ostreatus (FR.) Guel
ชื่ออื่น :เห็ดหอยโข่งทะเล
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีนและไต้หวัน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดมีสีครีมถึงสีเทาเข้ม ผิวดอกแห้งขอบหมวกม้วนงอลงเล็กน้อย ครีบใต้ดอกหมวกสีขาวถึงสีครีม บริเวณส่วนกลางดอกจะบุ๋มเล็กน้อย ก้านดอกมีขนาดใหญ่ อวบแน่นและติดกับขอบหมวกดอก ด้านใดด้านหนึ่ง
ฤดูกาล :ฤดูฝน
แหล่งปลูก : ปัจจุบันสามารถเพาะเห็ดเป๋าฮื้อได้แล้วทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนที่เกิดตามธรรมชาติจะขึ้นตามเปลือกไม้หรือขอนไม้ผุ
การกิน : นิยมนำเห็ดเป๋าฮื้อสดมาปรุงในตำรับอาหารจีน
สรรพคุณทางยา: ต่อต้านแบคทีเรียพวกกรัมบวก และป้องกันโรคมะเร็ง
เห็ดนางรม
ชื่อสามัญ : Oyster Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus ostreatus(Fr.)Kummer.
ชื่ออื่น :-
ถิ่นกำเนิด: ทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกา
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดรูปร่างคล้ายหอยนางรม ดอกสีขาวอมเทา ผิวเรียบ กลางหมวกเว้าเป็นแอ่ง ขอบกลีบดอกโค้งลงด้านล่างเล็กน้อย เมื่อโตเต็มที่ด้านหลังดอกจะมีลักษณะเป็นครีบ ก้านดอกยาวปานกลาง เชื่อมติดเป็น เนื้อเดียวกับหมวก อาจเกิดเป็นดอกเดียวหรือเป็นกระจุกก็ได้ โตเต็มที่กว้างประมาณ 3-6 นิ้ว
ฤดูกาล : ตลอดปี
แหล่งปลูก : เพาะปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ภาคกลางปลูกมากที่ จ.นครปฐม ราชบุรี ปทุมธานี และนครนายก
การกิน : เนื้อเห็ดนาวรมหนานุ่ม นำมาปรุงอาหารประเภทต้มยำ นึ่งจิ้มน้ำพริก ใส่แกงหน่อไม้ และทำเป็นยำหรือผัด
สรรพคุณทางยา: เห็ดนางรมมีกรดโฟลิก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โรคความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะมีปริมาณไขมันและแคลอรีต่ำ
เห็ดนางฟ้า
ชื่อสามัญ : Sarjor-caju Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sajor-caju(Fr.) Sing.
ชื่ออื่น : เห็ดแขก
ถิ่นกำเนิด: แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดสกุลเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ มีลักษณะดอกเห็ดคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อและเห็ดนางรม ดอกเห็ดมีสีขาวจนถึงสีน้ำตาลอ่อน หมวกดอกเนื้อแน่นสีคล้ำ ก้านดอกสีขาว ขนาดยาวไม่มีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวอยู่ชิดติดกันมากกว่าครีบดอกเห็ดเป๋าฮื้อ เส้นใยค่อนข้างละเอียด
ฤดูกาล : เห็ดนางฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าร้อน ประมาณเดือนเมษายน
แหล่งปลูก : เจริญเติบโตตามตอไม้ผุๆ บริเวณที่อากาศชื้นและเย็น
การกิน : เห็ดนางฟ้ามีกลิ่นหอม เนื้อแน่น รสหวาน นำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่นเห็ดนางฟ้าชุบแป้งทอด ผัดเห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าผัดกระเพรา ห่อหมกเห็ดนางฟ้า ยำเห็ดนางฟ้า เมี่ยงเห็ดนางฟ้า แหนมสดเห็ดนางฟ้า ใส่ในต้มโคล้งหรือต้มยำ เป็นต้น
สรรพคุณทางยา: ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด
;;
Subscribe to:
บทความ (Atom)