วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
1.เนื้อหาเกี่ยวกับเห็ด
2.วัตถุประสงค์
-เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเห็ดที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน
-เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารและคุณประโยชน์ของเห็ด
3.เนื้อหาเป็นประโยชน์(4)
4.การออกแบบ(4)
5.ความเรียบง่าย(4)
6.ความน่าสนใจ(4)
7.ความทันสมัย(3)
สรุปคะแนน 19
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552
ชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.
ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ
ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฟษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม
ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว
แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร
การกิน : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น
สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก
ชื่อสามัญ Ling Zhi Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma Iucidum
ชื่ออื่น เห็ดหมื่นปี เห็ดหิ้ง เห็ดขอนไม้ เห็ดสวรรค์พันปี เห็ดศักดิ์สิทธิ์ เห็ดนำโชค
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
ฤดูกาล ฤดูฝน
ลักษณะทางพันธุศาสตร์ หมวกเห็ดเป็นรูปไตหรือครึ่งวงกลม ดอกเห็ดกว้าง 3-9 เซนติเมตร ดอกอ่อนสีเหลือง ขอบขาว กลางดอกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง เนื้อเหนียว ดอกแก่จะแข็งเป็นมัน สีน้ำตาลแดงเข้มขึ้นเรื่อยๆ หมวกเห็ดมีริ้วหรือหยักเป็นคลื่น ขอบหมวกหน้างุ้มลงเล็กน้อย ด้านล่างมีรูกลมเล็กๆเป็นท่อเชื่อมติดกัน ก้านดอกสีน้ำตาลดำสั้นหรือไม่มีก้านเลย อยู่เยื้องไปด้านใดด้านหนึ่งของดอก หรืออยู่ติดขอบหมวก ผิวก้านเป็นมันเงา ผิวเรียบ หิดหลินจือมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรสชาตและสรรพคุณแตกต่างกันไป
แหล่งปลูก หินหลินจือตามธรรมชาติมักขึ้นอยู่กับขอนไม้ที่ตายแล้ว ในเขตป่าอบอุ่นและเขตร้อน
การกิน ดอกเห็ดนำมาต้มหรือตุ๋น
สรรพคุณทางยา ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดปริมาณน้ำตาลและโคเลสเตอรอล รักษาอาการภูมิแพ้ต่างๆ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้หอบหืด ยับยั้งเซลเนื้องอกมะเร็ง แก้ปวดตามข้อ บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท
คุณค่าอาหาร ไม่มีข้อมูล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Volvariella vovacea(Bull. Ex.Fr.) Sing
ชื่ออื่น เห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับ ฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บางๆคล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด
ฤดูกาล ตลอดปี
แหล่งปลูก สระบุรี นครนายก อยุธยา อ่างทอง สงขลา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุราษร์ธานี และนครศรีธรรมราช การกิน เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่นยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น
สรรพคุณทางยา เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปํญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้
คุณค่าทางอาหาร เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม
ชื่อสามัญ :Abalone Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus ostreatus (FR.) Guel
ชื่ออื่น :เห็ดหอยโข่งทะเล
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีนและไต้หวัน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดมีสีครีมถึงสีเทาเข้ม ผิวดอกแห้งขอบหมวกม้วนงอลงเล็กน้อย ครีบใต้ดอกหมวกสีขาวถึงสีครีม บริเวณส่วนกลางดอกจะบุ๋มเล็กน้อย ก้านดอกมีขนาดใหญ่ อวบแน่นและติดกับขอบหมวกดอก ด้านใดด้านหนึ่ง
ฤดูกาล :ฤดูฝน
แหล่งปลูก : ปัจจุบันสามารถเพาะเห็ดเป๋าฮื้อได้แล้วทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนที่เกิดตามธรรมชาติจะขึ้นตามเปลือกไม้หรือขอนไม้ผุ
การกิน : นิยมนำเห็ดเป๋าฮื้อสดมาปรุงในตำรับอาหารจีน
สรรพคุณทางยา: ต่อต้านแบคทีเรียพวกกรัมบวก และป้องกันโรคมะเร็ง
ชื่อสามัญ : Oyster Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus ostreatus(Fr.)Kummer.
ชื่ออื่น :-
ถิ่นกำเนิด: ทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกา
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดรูปร่างคล้ายหอยนางรม ดอกสีขาวอมเทา ผิวเรียบ กลางหมวกเว้าเป็นแอ่ง ขอบกลีบดอกโค้งลงด้านล่างเล็กน้อย เมื่อโตเต็มที่ด้านหลังดอกจะมีลักษณะเป็นครีบ ก้านดอกยาวปานกลาง เชื่อมติดเป็น เนื้อเดียวกับหมวก อาจเกิดเป็นดอกเดียวหรือเป็นกระจุกก็ได้ โตเต็มที่กว้างประมาณ 3-6 นิ้ว
ฤดูกาล : ตลอดปี
แหล่งปลูก : เพาะปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ภาคกลางปลูกมากที่ จ.นครปฐม ราชบุรี ปทุมธานี และนครนายก
การกิน : เนื้อเห็ดนาวรมหนานุ่ม นำมาปรุงอาหารประเภทต้มยำ นึ่งจิ้มน้ำพริก ใส่แกงหน่อไม้ และทำเป็นยำหรือผัด
สรรพคุณทางยา: เห็ดนางรมมีกรดโฟลิก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โรคความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะมีปริมาณไขมันและแคลอรีต่ำ
ชื่อสามัญ : Sarjor-caju Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sajor-caju(Fr.) Sing.
ชื่ออื่น : เห็ดแขก
ถิ่นกำเนิด: แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดสกุลเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ มีลักษณะดอกเห็ดคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อและเห็ดนางรม ดอกเห็ดมีสีขาวจนถึงสีน้ำตาลอ่อน หมวกดอกเนื้อแน่นสีคล้ำ ก้านดอกสีขาว ขนาดยาวไม่มีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวอยู่ชิดติดกันมากกว่าครีบดอกเห็ดเป๋าฮื้อ เส้นใยค่อนข้างละเอียด
ฤดูกาล : เห็ดนางฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าร้อน ประมาณเดือนเมษายน
แหล่งปลูก : เจริญเติบโตตามตอไม้ผุๆ บริเวณที่อากาศชื้นและเย็น
การกิน : เห็ดนางฟ้ามีกลิ่นหอม เนื้อแน่น รสหวาน นำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่นเห็ดนางฟ้าชุบแป้งทอด ผัดเห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าผัดกระเพรา ห่อหมกเห็ดนางฟ้า ยำเห็ดนางฟ้า เมี่ยงเห็ดนางฟ้า แหนมสดเห็ดนางฟ้า ใส่ในต้มโคล้งหรือต้มยำ เป็นต้น
สรรพคุณทางยา: ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด
วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552
การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ
1. ความเรียบง่าย: จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา
2. มีความคงตัว (consistent): เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรในสไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้าง หรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อยก็อาจทำได้เช่นกัน
3. ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน (formal balance) หรือสมดุลไม่มีแบบแผน (informal balance) ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว
4. มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่
5. สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย
6. แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา (bold) หรือตัวเอน (italic) แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง
7. เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layoutเพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ (dim body text) ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความและเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา
8. เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้
9. ความคมชัด (resolution) ของภาพ: เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น
10. เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม: เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะว่าเมื่อฉายแล้วเสี้ยวซ้ายของสไลด์จะไม่ปรากฏให้เห็นตามหลักของอัตราส่วน 4:3
หลักสร้างสื่อนำเสนอที่ดี
รู้จักกับการออกแบบเว็บไซต์ "การออกแบบเว็บไซต์นั้นไม่ได้หมายถึงลักษณะหน้าตาของเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องตั้งแต่การเริ่มต้นกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ ระบุกลุ่มผู้ใช้ การจัดระบบข้อมูล การสร้างระบบเนวิเกชัน การออกแบบหน้าเว็บ รวมไปถึงการใช้กราฟิก การเลือกใช้สี และการจัดรูปแบบตัวอักษร นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงความแตกต่างของสื่อกลางในการแสดงผลเว็บไซต์ด้วย สิ่งเหล่านี้ได้แก่ ชนิดและรุ่นของบราวเซอร์ ขนาดของหน้าจอมอนิเตอร์ ความละเอียดของสีในระบบ รวมไปถึง Plug-in ชนิดต่าง ๆ ที่ผู้ใช้มีอยู่ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกและความพอใจที่จะท่องไปในเว็บไซต์นั้น ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในเว็บไซต์ทั้งที่คุณมองเห็นและมองไม่เห็นล้วนเป็นผลมาจากกระบวนการออกแบบเว็บไซต์ทั้งสิ้นเว็บไซต์ที่ดูสวยงามหรือมีลูกเล่นมากมายนั้น อาจจะไม่นับเป็นการออกแบบที่ดีก็ได้ ถ้าความสวยงามและลูกเล่นเหล่านั้นไม่เหมาะสมกับลักษณ์ของเว็บไซต์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะระบุว่าการออกแบบเว็บไซต์ที่ดีนั้นเป็นอย่างไร เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนที่จะใช้ได้กับทุกเว็บไซต์ แนวทางการออกแบบบางอย่างที่เหมาะสมกับเว็บไซต์หนึ่ง อาจจะไม่เหมาะกับอีกเว็บไซต์หนึ่งก็ได้ ทำให้แนวทางในการออกแบบของแต่ละเว็บไซต์นั้นแตกต่างกันไปตามเป้าหมายและลักษณะของเว็บไซต์นั้น เว็บไซต์บางแห่งอาจต้องการความสนุกสนาน บันเทิง ขณะที่เว็บอื่นกลับต้องการความถูกต้อง น่าเชื่อถือเป็นหลัก ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าการออกแบบที่ดีก็คือ การออกแบบให้เหมาะสมกับเป้าหมายและลักษณะของเว็บไซต์ โดยคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลักออกแบบให้ตรงกับเป้าหมายและลักษณะของเว็บไซต์เว็บไซต์แต่ละประเภทต่างมีเป้าหมายและลักษณะที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ซึ่งเป็นแหล่งรวมที่อยู่ของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นประตูไปสู่เว็บไซต์อื่น ๆ เว็บไซต์ประเภทนี้มีเป้าหมายที่จะให้ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการอย่างรวดเร็ว และจะมีผู้เข้ามาใช้บริการค้นหาข้อมูลเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการออกแบบเว็บไซต์ประเภทนี้ก็คือสามารถแสดงหน้าเว็บอย่างรวดเร็ว เมื่อผู้ใช้เปิดเข้ามาและมีระบบสืบค้นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วสำหรับเว็บเพื่อความบันเทิงหรือเกี่ยวข้องกับศิลปะนั้น ผู้ใช้มักคาดหวังที่จะได้พบกับสิ่งที่น่าตื่นเต้น เรื่องราวที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน หรืออาจจะได้เรียนรู้สาระบางอย่างบ้าง ความสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์เหล่านี้จึงมีมากพอกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ส่วนเว็บทั่วไปที่ให้บริการข้อมูล ซึ่งไม่ได้มีเป้าหมายที่จะให้ความบันเทิง ควรจะมีการจัดข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ส่วนเว็บไซต์ขององค์กรธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อขายสินค้าหรือบริการนั้น ยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์เป็นอย่างมาก เพราะผู้ใช้หรือลูกค้าของคุณจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ โดยดูจากสิ่งที่พบเห็นในเว็บไซต์ ซึ่งลักษณะการออกแบบของเว็บไซต์ก็จะสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของธุรกิจนั้น จึงทำให้เว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ได้มากกว่าเว็บไซต์อื่นองค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์อย่างมีประสิทธิภาพองค์ประกอบต่อไปนี้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของเว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างมีประสิทธิภาพ
1. ความเรียบง่าย (Simplicity)หลักที่สำคัญของความเรียบง่าย คือ การสื่อสารเนื้อหาถึงผู้ใช้โดยจำกัดองค์ประกอบเสริมที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอให้เหลือเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
2. ความสม่ำเสมอ (Consistency)ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เนื่องจากผู้ใช้จะรู้สึกกับเว็บไซต์ว่าเป็นเสมือนสถานที่จริง ถ้าลักษณะของแต่ละหน้าในเว็บไซต์เดียวกันนั้นแตกต่างกันมาก ผู้ใช้ก็จะเกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่ในเว็บเดิมหรือไม่ ดังนั้นรูปแบบของหน้า สไตล์ของกราฟิก ระบบเนวิเกชัน และโทนสีที่ใช้ควรจะมีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บไซต์
3. ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity)การออกแบบต้องคำนึงถึงลักษณะขององค์กร เนื่องจากรูปแบบของเว็บไซต์สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ และลักษณะขององค์กรนั้นได้
4. เนื้อหาที่มีประโยชน์ (Useful Content)เนื้อหาถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเว็บไซต์ ดังนั้นในเว็บไซต์ควรจัดเตรียมเนื้อหาและข้อมูล ที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์ โดยมีการปรับปรุงและเพิ่มเติมให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ เนื้อหาที่สำคัญที่สุดคือ เนื้อหาที่สร้างขึ้นมาเองโดยทีมงานของคุณและไม่ซ้ำกับเว็บอื่น เพราะจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้ให้เข้ามาในเว็บไซต์อยู่เสมอ
5. ระบบเนวิเกชันที่ใช้งานง่าย (User-Friendly Navigation)ระบบเนวิเกชันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของเว็บไซต์ จะต้องออกแบบให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายและใช้งานสะดวก โดยใช้กราฟิกที่สื่อความหมายร่วมกับคำอธิบายที่ชัดเจน รวมทั้งมีรูปแบบและลำดับของรายการที่สม่ำเสมอ
6. มีลักษณะที่น่าสนใจ (Visual Appeal)เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่าลักษณะหน้าตาของเว็บไซต์น่าสนใจหรือไม่ เพราะเกี่ยวข้องกับความชอบของแต่ละบุคคลอย่างไรก็ตามหน้าตาของเว็บไซต์จะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่าง ๆ7. การใช้งานอย่างไม่จำกัด (Compatibility)ควรออกแบบเว็บไซต์ให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงได้มากที่สุด โดยไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มเติม หรือต้องเลือกใช้บราวเซอร์ชนิดใดชนิดหนึ่งจึงจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ สามารถแสดงผลได้ในทุกระบบปฏิบัติการและที่ความละเอียดหน้าจอต่างกันอย่างไม่มีปัญหา
8. คุณภาพในการออกแบบ (Design Stability)ถ้าต้องการให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ถูกต้อง และเชื่อถือได้ ก็ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์อย่างมาก
9. ระบบการใช้งานที่ถูกต้อง (Functional Stability)ระบบการทำงานต่าง ๆ ในเว็บไซต์จะต้องมีความแน่นอน และทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
ความผิดพลาดในการออกแบบเว็บไซต์
1. ใช้โครงสร้างหน้าเว็บเป็นระบบเฟรม
2. ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยไม่จำเป็น
3. ใช้ตัวหนังสือหรือภาพเคลื่อนไหวตลอดเวลา
4. มีที่อยู่เว็บไซต์ที่ซับซ้อน (URL) ยากต่อการจดจำและพิมพ์
5. ไม่มีการแสดงชื่อและที่อยู่ของเว็บไซต์ในหน้าเว็บเพจ
6. มีความยาวของหน้ามากเกินไป
7. ขาดระบบเนวิเกชันที่มีประสิทธิภาพ
8. ใช้สีของลิงค์ไม่เหมาะสม
9. ข้อมูลเก่าไม่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย
10. เว็บเพจแสดงผลช้า
ชื่อสามัญ : Champigon Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agaricus bisporus(langes) Sing.
ชื่ออื่น : เห็ดกระดุม เห็ดฝรั่ง เห็ดขาว
ถิ่นกำเนิด: ประเทศฝรั่งเศส
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดแชมปิญอง มีหมวกดอกสีขาว หรือสีครีมลักษณะคล้ายกระดุม ครีบดอกคล้ายซี่ร่ม เมื่อแรกบานครีบดอกมีสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีชมพู ครีบดอกเป็นแหล่งผลิตสปอร์ ก้านดอกสีขาว ลักษณะคล้ายทรงกระบอก มีวงแหวนล้อมรอบ ส่วนโคนของก้านดอก มีเส้นใยหนาแน่น
ฤดูกาล : มีขายตามท้องตลาดช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่
การกิน : เห็ดแชมปิญองเนื้อหนานุ่ม นำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่นเต้าหู้ราดซอสเห็ด ผัดยอดถั่วลันเตา กับเห็ด ซุบเห็ด สตูเห็ด และเห็ดอบเนย เป็นต้น
สรรพคุณทางยา: เห็ดแชมปิญอง มีสาร Lentinan ที่สามารถต่อต้าน เนื้องอกและมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ช่วยเสริมสร้าง ภูมิต้านทานโรค และลดไขมันในเส้นเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Termitomyces fuliginosus Heim.
ชื่ออื่น : เห็ดปลวก
ถิ่นกำเนิด: ในประเทศเขตร้อนแถบทวีปแอฟริกา ประทศเนบาล อินเดีย พม่า และไทย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดโคนมีหมวกดอกกลม ปลายแหลมเล็กน้อยคล้ายงอบ ด้านบนของหมวกเห็ดสีน้ำตาล เรียบหรือมีรอยย่น เล็กน้อย ด้านล่างหมวกเป็นครีบสีขาวเรียงชิดกัน ครีบดอกสีขาว ส่วนโคนจะพองโป่งออก ก้านดอกยาวหนา โป่งตรงกลางเล็กน้อย เนื้อเยื่อมีสีขาวนุ่มและเหนียว ก้านทรงกระบอกสีขาว ผิวเรียบ ยาวประมาณ 12-20 ซม. มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ฤดูกาล : ฤดูฝน ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม
แหล่งปลูก : ขึ้นเองตามธรรมชาติตามป่าโปร่ง จอมปลวก และที่ราบทั่วทุกภาค โดยจะพบมากแถบจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา ราชบุรี และ เพชรบุรี
การกิน : เนื้อเห็ดโคนนุ่มเหนียว คล้ายเนื้อไก่ นำมาปรุงอาหารประเภท ต้มเปรี้ยวเห็ดโคน ยำเห็ดโคน แกงเลียงเห็ดโคน แกงเขียวหวานเห็ดโคน หรือนำมาต้มกับเกลือ กินกับน้ำพริก
สรรพคุณทางยา: เห็ดโคนช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ น้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิดได้เช่นเชื้อไทฟอยด์ เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Flammulina velutipes (Curt,ex Fr.) Sing
ชื่ออื่น :Enokitake,Needle Mushroom,เห็ดเหมันต์
ถิ่นกำเนิด: พบขึ้นทั่วไปในเขตหนาว เช่นประเทศจีน ญี่ปุ่น อเมริกา และออสเตรเลีย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดรูปร่างกลม มีขนาดเล็กก้านยาวเรียว เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อสุกเนื้อนุ่มลื่นเคี้ยวกรุบ
ฤดูกาล :เห็ดเข็มทองตามธรรมชาติชอบขึ้นกับไม้ที่ตายแล้ว ออกดอกในช่วงฤดูหนาว
แหล่งปลูก : -
การกิน : นำมาทำสุกี้ยากี้ ผัดรวมกับผักต่างๆ และใส่แกงจืด
สรรพคุณทางยา: กินเห็ดเข็มทองเป็นประจำจะช่วยให้รักษา โรคตับ โรคกระเพาะอาหารและโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ชื่อสามัญ :-
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus polychrous Lev.
ชื่ออื่น : ภาคอีสานเรียกว่าเห็ดบด ภาคเหนือเรียกว่า เห็ดลม
ถิ่นกำเนิด: เห็ดกระด้างเป็นเห็ดพื้นบ้านของประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดเป็นรูปกรวยลึกคล้ายพัด สีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อนปนเทา เส้นผ่าศุนย์กลาง 5-8 ซม. ขอบงอลงเล็กน้อย ผิวมีขนสั้นๆสีน้ำตาลรวมกันคล้ายเกล็ดเล็กๆปลายงอนขึ้นเล็กน้อย เกล็ดเรียงกันกระจายอยู่บริเวณขอบหมวก ใต้ดอกมีครีบเป็นร่องลึกสีน้ำตาล ดอกอ่อนมีขอบบางและม้วนงอลง เมื่อแห้งเนื้อจะแข็งและเหนียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
ฤดูกาล : ฤดูฝน
แหล่งปลูก : เห็ดกระด้างพบได้ตามธรรมชาติ บริเวณป่าตามภาคเหนือและภาคอีสาน ชอบขึ้นตามตอไม้ผุๆหรือขอนไม้เก่าๆ
การกิน : ดอกอ่อนนำมาผัดน้ำมันหอย ทำแกงส้ม ใส่ในแกงหน่อไม้ ดอกแก่นำมาใส่แกงแคหรือซุบแบบอีสาน
สรรพคุณทางยา: ไม่มีข้อมูล
คุณค่าอาหาร :ไม่มีข้อมูล
ชื่ออื่น : เห็ดมันมะม่วง เห็ดมัน เห็ดขอนขาว
ประโยชน์ทางอาหาร : ใช้ทั้งดอก-นำมาแกงกับปลาย่างใส่ผักชะอม นึ่งจิ้มน้ำพริก และแกงแคร่วมกับผักชนิดอื่นๆ
ประโยชน์ทางยา : ดอก-บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ไข้พิษ ช่วยระบบขัถ่ายทำงานดีขึ้น
ฤดูที่ใช้ประโยชน์ : ฤดูฝน
คุณค่าทางอาหาร เห็ดขอนขาว 100 กรัม ให้พลังงาน 48 กิโลแคลอรี น้ำ 87.5 กรัม โปรตีน 3.3 กรัม เส้นใย 3.2 กรัม ฟอสฟอรัส 163 มิลลิกรัม
เห็ด เป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ พบทั้งในน้ำ บนบกและในอากาศ มีลักษณะคล้ายสาหร่าย แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ เป็นเส้นใยเล็กๆ ซึ่งแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา เส้นเหล่านี้มักอยู่รวมกันเป็นกระจุก (ไมซีเลียม) บางชนิดมีเซลล์เดียว เช่น ยีสต์บางชนิดรวมเป็นดอกเห็ด เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลล์มันจึง ต้องอาศัยการย่อยสลายอาหารจากภายนอก ได้แก่ อินทรีย์วัตถุทั่วไป อย่างไรก็ตาม บางชนิดอาจดำรงชีวิตแบบปรสิต หรืออยู่รวมกับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยอาศัยประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น ไลเคนส์ (เห็ดราอยู่ร่วมกับสาหร่าย) ปัจจุบันเห็ดที่นิยมรับประทานกันมีอยู่มากมายหลายชนิด มีทั้งแบบสดแบบบรรจุกระป๋อง หรือแม้แต่เห็ดตากแห้ง ปัจจุบันได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเห็ดหลายเรื่อง
ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการรักษาโรคของเห็ด โดยเห็ดที่นักวิทยาศาสตร์นำ มาวิเคราะห์นั้นส่วนใหญ่จะเป็นเห็ดที่นิยมนำมาทำเป็นอาหาร เช่น เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม เห็ดแชมปิญอง เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดหูหนู หรือ เห็ดหลินจือ และมีการค้นพบว่าเห็ดแชมปิญอง มีบทบาทที่ช่วยในการรักษาและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากที่สุด เมื่อเทียบกับเห็ดรับประทานได้ชนิดอื่น แต่ไม่ได้หมายความว่าเห็ดชนิดอื่น ไม่มีประโยชน์ อย่าลืมว่าพืชผักทุกชนิดมีประโยชน์กับร่างกายทั้งสิ้น แต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง
เห็ดที่นิยมนำมาปรุงอาหารที่พบเห็นมากในบ้านเรา ได้แก่
เห็ดหอม ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารตำรับ “ อมตะ ” เพราะมีคุณสมบัติความเป็นยาบำรุงกำลังและบรรเทาอาการไข้หวัด การไหลเวียนเลือดไม่ดี ปวดกระเพาะอาหาร รวมทั้งอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ซึ่งเห็ดหอมจะให้โปรตีนได้มากกว่าเห็ดแชมปิญองถึง 2 เท่า นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินบี ซีลีเนียม และธาตุอื่นๆ ที่ร่างกายต้องการ
เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นคล้ายพัด ซึ่งเห็ดเป๋าฮื้อจะ มีลักษณะเหนียวหนากว่าเห็ดสองชนิดแรก ซึ่งเห็ดเป๋าฮื้อสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด และโรคกระเพาะอาหาร
เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้างชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกมีสีน้ำตาลอมเทา มีวิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด เชื่อกันว่าหากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อต่างๆ แต่ก็ไม่ควรรับประทานสดๆ เพราะมีสารยับยั้งการดูดซึมอาหาร ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการผื่นคันต่างๆ
เห็ดหลินจือ นอกจากใช้รับประทานแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย และกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส แถมยังมีฤทธิ์แก้อักเสบ ลดความดันเลือด แก้ปวดศีรษะ รวมทั้งลดไขมันในเส้นเลือดด้วย